ทุก ๆ React component เป็นเหมือนระบบเล็ก ๆ ที่บริหารจัดการตัวเอง ตัวมันเองจะมีข้อมูลสถานะ (state) เป็นของตัวเอง และมีส่วนของ ข้อมูลนำเข้า (input) และ ข้อมูลส่งออก (output) ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่เราจะกล่าวถึงในหัวข้อนี้
ข้อมูลนำเข้าของ React component คือสิ่งที่เรียกว่า props (Properties หรือข้อมูลคุณลักษณะของมันนั่นเอง) ซึ่งก็คือสิ่งที่กำหนดว่าเราจะเราสามารถส่งข้อมูลอะไรเข้าไปที่ตัว component ได้บ้าง
// Title.jsx
function Title(props) {
return <h1>{ props.text }</h1>;
}
Title.propTypes = {
text: PropTypes.string
};
Title.defaultProps = {
text: 'Hello world'
};
// App.jsx
function App() {
return <Title text='Hello React' />;
}
component ข้างต้นที่มีชื่อว่า Title
และมีการรับข้อมูลนำเข้าเพียงข้อมูลเดียวคือ text
ซึ่งควรจะถูกส่งมาจาก parent component (component ที่ห่อหุ้ม Title อีกทีหนึ่ง)
ตัวอย่างข้างต้นยังได้มีการระบุ propTypes
หรือชนิดของข้อมูลนำเข้า ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรกำหนดให้ถูกต้องตามแต่ละชนิดของข้อมูลคุณลักษณะ เพื่อที่ React จะสามารถแจ้งเตือนเราได้หากมีการส่งชนิดข้อมูลที่ไม่ตรงกับที่ระบุไว้
defaultProps
ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่มีประโยชน์ในการกำหนดค่าเริ่มต้นให้กับข้อมูลนำเข้า ซึ่งเราอาจจะต้องการกำหนดค่าเริ่มต้นที่เราต้องการเผื่อไว้ในกรณีที่ผู้เรียกใช้ component ของเราลืมส่งข้อมูลมาให้
React ไม่ได้กำหนดเจาะจงชนิดของข้อมูลนำเข้าของ component เลย มันอาจจะเป็นอะไรก็ได้ เราสามารถส่งแม้แต่ component อื่น ๆ เข้ามาเป็นข้อมูลนำเข้าของ component ของเราอีกทีหนึ่ง ดังเช่นตัวอย่างด้านล่าง:
function SomethingElse({ answer }) {
return <div>The answer is { answer }</div>;
}
function Answer() {
return <span>42</span>;
}
// later somewhere in our application
<SomethingElse answer={ <Answer /> } />
สังเกตุตรง props.children
ซึ่งถือเป็นข้อมูลนำเข้าอีกชนิดที่ทำให้เราสามารถที่จะเข้าถึง component ลูก (child components) ที่ถูกระบุอยู่ใน component ที่เรียกใช้ component ของเราอีกที
ดังเช่นตัวอย่างด้านล่าง:
function Title({ text, children }) {
return (
<h1>
{ text }
{ children }
</h1>
);
}
function App() {
return (
<Title text='Hello React'>
<span>community</span>
</Title>
);
}
ในตัวอย่างข้างต้นนี้ ตรง <span>community</span>
ที่อยู่ใน App
component เป็น component ลูก (children
) ของ component Title
ท่านจะสังเกตุเห็นได้ว่าถ้าหากเราไม่มีบรรทัด { children }
ที่เป็นส่วนนึงของโค้ด Title
จะทำให้ <span>community</span>
ไม่ถูกแสดงผล
(ก่อนเวอร์ชั่น 16.3) มีข้อมูลนำเข้าทางอ้อมที่ส่งไปให้ component เรียกว่า context
ซึ่ง component ทั้งหมดที่อยู่ภายใต้ลำดับชั้นของ context นั้น ๆ สามารถที่จะเข้าถึงข้อมูล context นั้นได้ (จะกล่างถึงอย่างละเอียดอีกครั้งในหัวข้อ dependency injection )
ข้อมูลส่งออกแบบแรกที่ชัดเจนที่สุดของ React component ก็คือ HTML ที่ถูกประมวลผลออกมาแล้ว เป็นสิ่งที่สามารถเห็นได้ง่าย ๆ อย่างไรก็ตาม เพราะว่าเราสามารถที่จะส่งอะไรเข้ามาเป็นข้อมูลนำเข้าก็ได้ เราจึงสามารถที่จะส่งฟังก์ชัน (function) เข้ามาเพื่อที่จะส่งข้อมูลกลับออกไปหรือกระตุ้นให้เกิดการเริ่มกระบวนการที่ต้องการได้ด้วย
ในตัวอย่างด้านล่างเรามี component ชื่อ <NameField />
ที่ด้านในของมันเป็น html input tag ทำหน้าที่รับข้อมูลนำเข้าจากผู้ใช้และมี prop (ข้อมูลนำเข้าของตัว NameField เอง) ที่ชื่อว่า valueUpdated
เป็นเหมือน callback (ฟังก์ชันที่ส่งข้อมูลกลับเมื่อสิ้นสุดการทำงาน) ที่คอยส่งค่าที่ user ป้อนเข้ามา ออกไปยัง component ที่เรียกใช้ตัว <NameField />
อีกทีนึง (<App />
)
function NameField({ valueUpdated }) {
return (
<input
onChange={event => valueUpdated(event.target.value) } />
);
};
class App extends React.Component {
constructor(props) {
super(props);
this.state = { name: '' };
}
render() {
return (
<div>
<NameField
valueUpdated={ name => this.setState({ name }) } />
Name: { this.state.name }
</div>
);
}
};
บ่อยครั้งที่เราต้องการจุดเริ่มต้นสำหรับ logic ของเรา และ React มาพร้อมกับ lifecycle method ต่าง ๆ ที่เราสามารถใช้ในการระบุการทำงานที่ต้องการในแต่ละช่วงสถานะของตัว component ได้ ดังเช่นตัวอย่างด้านล่างที่เราพยายามจะดึงข้อมูลจากทรัพยากรภายนอก
class ResultsPage extends React.Component {
componentDidMount() {
this.props.getResults();
}
render() {
if (this.props.results) {
return <List results={ this.props.results } />;
} else {
return <LoadingScreen />
}
}
}
ลองคิดว่าเรากำลังจะสร้างส่วนของการค้นหา ซึ่งเรามีหน้าสำหรับค้นหาที่รับเงื่อนไขในการค้นหาอยู่แล้ว user อาจจะกรอกเงื่อนไขและกดค้นหา ซึ่งจะนำผู้ใช้ไปอยู่หน้า /results
ที่ ๆ เราจะแสดงผลของการค้นหาของเรา และเมื่อผู้ใช้เข้าสู่หน้าแสดงผลสำเร็จแล้วเราก็จะให้ผู้ใช้พบกับส่วนที่แสดงว่ากำลังทำการดึงข้อมูลอยู่ให้ผู้ใช้รอ พลางทำการร้องขอข้อมูลไปที่ทรัพยากรด้านนอก ในขั้นตอนนี้เราจะทำใน componentDidMount
ที่เป็น lifecycle method ของ React component และเมื่อเราได้ผลลัพธ์กลับมาจากแหล่งข้อมูลที่เราร้องขอ เราก็จะนำข้อมูลมาแสดงให้กับผู้ใช้ใน <List>
component ตามโค้ดตัวอย่างด้านบน
มันอาจจะง่ายขึ้นหากว่าเราคิดว่าทุก ๆ React component เป็นเหมือนกล่องดำ (black box) ที่มันจะมีรูปแบบของข้อมูลนำเข้า ข้อมูลส่งออก และ lifecycle ของมันเอง ขึ้นอยู่กับเราว่าจะประกอบกล่องต่าง ๆ เหล่านี้อย่างไร และบางทีนี่อาจจะเป็นหนึ่งในข้อได้เปรียบที่ React มีให้กับเรา ซึ่งก็คือการที่มันง่ายต่อการนิยามและง่ายต่อการประกอบขึ้นมาให้เป็นสิ่่งที่ใช้ได้จริง ๆ